เราต่างเป็น “พุทธะ” คือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานอยู่แล้ว
เพียงต้องการฝึกฝนเพื่อก้าวข้ามความสับสน และเห็นความจริง ด้วยวิถีทางแห่งความธรรมดาดังเราหายใจ
ง่าย งดงาม ลึกซึ้ง คือคำนิยามแห่งเซน
จากุโช กวอง อาจารย์เซนผู้นำพาความธรรมดาที่แสนพิเศษ
ทุกอย่างต่อเนื่องเป็นไปอย่างไร้จุดเริ่มและไม่มีจุดจบ
ทุกอย่างมันเป็นอยู่เช่นนั้น
เมื่อเข้าใจ นั่นคือกลไกแห่งความเข้าใจตนและจักรวาล
เราทุกคนมีความดีงามตามธรรมชาติอยู่แล้ว หากแต่บางครั้งไม่ได้รับการขัดเกลาฝึกฝน ดังนั้น ใครๆ จึงสามารถปฏิบัติและเข้าถึงความดีนั้นได้หากเพียรฝึกตนเองตามแนวทางแห่ง “เซน” ปัจจุบันพุทธศาสนานิกายเซนเป็นแนวทางที่แพร่ไปทั่วโลกโดยเฉพาะในฝั่งตะวันตก เพราะความเรียบง่ายแต่ลึกซึ้ง เข้าถึงได้ง่าย ผู้คนจำนวนมากจึงเลือก “เซน” เป็นเครื่องมือบรรเทาความเร่าร้อนของโลกปัจจุบัน
สรรพสิ่งในแบบของเซนเกิดขึ้นเอง และเป็นอยู่เช่นนั้นเอง คือ ศูนยตาอันไร้ขอบเขต เป็นพื้นที่ไพศาลอันหาจุดเริ่มต้นไม่ได้ ดังท้องฟ้ากว้างใหญ่และกิจกรรมทั้งมวลของธรรมชาติที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและไม่มีจุดสิ้นสุดด้วยเช่นกัน จิตของมนุษย์เราก็เรืองรองอย่าง ไร้เริ่มต้น ไร้จุดจบ อยู่เฉกเช่นนั้น
ความยึดมั่นนั้นปล่อยวาง ทุกอย่างจึงเรียบง่าย
เมื่อเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสรรพสิ่ง ก็ยิ่งบรรลุเซน
จากุโช กวอง ผู้เขียน
ผู้เป็นอาจารย์เซนหรือ โรชิ แห่งภูเขาโซโนม่า สหรัฐอเมริกา ผู้เผยแพร่เซนให้แก่โลกตะวันตกด้วยวิถีที่ยึดโยงอยู่กับความปกติธรรมดา ท่านกล่าวว่าเซนรู้ได้จากประสบการณ์หลากหลายตลอดจนสรรพสิ่งที่เราแลเห็นและเข้าใจได้เองจากเรื่องราวรอบๆ ตัว เช่น จากสายลม เสียงนกร้อง ดอกไม้ผลิบาน อารมณ์อันดื่มด่ำ ตลอดจนความโกรธเกลียด การด่าทอชิงชัง ความโรยราของฤดูกาล กลีบใบไม้ร่วงหล่นและความตาย ท่านได้ชี้ว่าเมื่อเราเฝ้ามองพิจารณา ทั้งหมดนั้นคือหนทางแห่งความเข้าใจเซน
ภิกษุณีธัมมนันทา ผู้แปล
ท่านเป็นปราชญ์ด้านพุทธศาสนา และ ภิกษุณีรูปแรกของไทยในสายเถรวาท อีกทั้งเป็นมิตรสหายทางธรรมของจากุโช กวอง จึงสามารถถ่ายทอดความงดงามของพุทธศาสนาแบบเซนเป็นภาษาไทยได้อย่างตรงตัว ชวนให้ล่องรื่นไปกับความละมุนละไมของเซนได้จนจบอย่างเพลิดเพลินต่างจากการอ่านงานทางศาสนาทั่วไป